Feeds:
Posts
Comments

Posts Tagged ‘japanese’

มากกว่า 5 คนถ้าไม่รวมปลาหมอสีที่บ้านผมที่พร่ำพูดเสมอว่า “ท่านท๊อปนี่มันอัจฉริยะจริงๆ ทำไมถึงเก่งภาษาญี่ปุ่นได้ขนาดนั้นนะ!?”

ผมแทบอยากจะเอาไม้บรรทัดทุบตัวเองตายด้วยความที่ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริงเลยแม้แต่นิดเดียว…

หลายคนบอกว่าไม่เก่งได้ไง เป็นถึง Translator Fansub ของ Thai-Fansubs ฟังญี่ปุ่นออกเกือบจะหมด โหย..พระเจ้ามากๆ

บอก ให้ก็ได้ว่า ผมก็คนธรรมดาๆ เหมือนท่านนี่แหละ ไอ้ที่แปล Fansubs น่ะ ก็ฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง อันไหนไม่ออก ก็หา Sub Eng มานั่งดู ไม่ได้เทพขนาดฟังจาก RAW 100 % (จริงๆ ก็เคยนะ… แต่ไอ้การที่ฟังประโยคเดียวซ้ำไป-ซ้ำมา 300 กว่าครั้งเนี่ย… มันไม่ใช่อะไรที่สนุกสนานกับชีวิตวัยกลัดมันส์เลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว)

ถาม หน่อย… เวลาท่านจะเอาตัวผมไปเทียบกับคนที่เพิ่งเรียนมา 1 เทอม กับตัวผมที่เรียนมาเกือบๆจะ 5 ปีเนี่ย…มันเทียบกันได้ด้วยเหรอ(วะ)? ตอบแบบไม่ต้องคิดแก้สมการสองตัวแปรเลยว่า มันเทียบกันม่ายด้าย!!!

ที่ นี้หนักเข้าๆ มันไม่เชื่อกัน หาว่าผมเป็นเซียนลงมาจุติบ้างล่ะ หาว่าผมเป็นอวตารของคนนักภาษาศาสตร์บ้างล่ะ ถ้าผมเป็นงั้นจริงคงไปออกโชว์รอบโลกแล้วครับ ไม่นั่งเลี้ยงปลาอยู่ที่บ้านแบบนี้หรอกพ่อแม่พี่น้อง

เอาวะ! ไหนๆ ก็ไหนๆ ผมจะเล่าให้ฟังละกันว่า ชีวิตม.5 – ปี 4 ที่เรียนญี่ปุ่นที่ผ่านมาน่ะ ผมสามารถเอาตัวรอดมาได้ยังไง ทั้งๆ ที่ก็คนธรรมดาหน้าตาอุบาทว์ๆ เนี่ยแหละครับ

*** ข้อควรทราบก่อนอ่าน ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์ไม่ใช่อยากอวดรู้อวดฉลาด ก็บอกแล้วว่ามันไม่ได้ฉลาดๆๆๆ แต่ตั้งใจจะเขียนให้ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันเผื่อเป็นประโยชน์ในกาลต่อไป ฉะนั้นใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดความรู้สึกหมั่นไส้ ตับ ม้าม เซี้ยงจี้ หรือ อัณฑะ ผมก็ขอให้ท่านหยุดเถิดเสียแต่โดยดีตั้งแต่ตรงนี้เป็นต้นไป เพราะไม่มีค่ารักษาความหมั่นไส้ฯ อะไรนั่นให้นะโว้ย***

เรื่อง ของเรื่องก็หยิบเอาตำหรับตำราที่เก็บเอาไว้ใช้สอนรุ่นน้องเอามาดูก่อน คำถามที่พบบ่อยๆ คือ “ทำยังไงให้จำตัวฮิรากานะ และคาตะคานะให้ได้อย่างรวดเร็ว” ผมขอเสนอหลักสูตรเร่งรัดราวกับต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเส้นยังไม่นุ่มก็ซดโฮก เลยดังนี้

อ่ีะ… เนี่ยแหละกะบะเก็บหนังสือเรียนของผม

ไม่ค่อยได้ทิ้งหรอก เก็บๆ มันไปเรื่อยๆ เพื่ออนาคตเค้ามีประกวดหนังสือเรียนที่เก่าที่สุดในประเทศจะได้เอาไปประกวดกับเค้าบ้าง

ไหน อยากจำตัวอักษร ให้ได้กันเร็วๆ ใช่มะ งั้นเรามาดูสมุดไซส์กระจิ๋วหลิวพวกนี้กันก่อนเถอะ

ดูแล้วไม่น่ามีพิษสงอะไรใช่มั้ยล่ะ อย่าลืมๆ เรียบๆ แบบนี้แหละร้ายลึก เคยได้ยินมะ “เรียบแต่ร้าย”

ผ่า ง!!!!! เอาดิ จะคัดตัวอะอิอุเอะโอะ อะไรยังไงก็คัดไปเลย คัดจนหมดเล่มนี่แหละ คัดหมดแล้วก็ไปซื้อมาอีกเล่มมาคัดต่อ คันจงคันจิยากบัดซบขนาดไหนก็จำได้ภายใน 1 เล่ม ใครจำไม่ได้จะพาไปประกวดกินเนสบุ๊คคนความจำสั้นที่สุดในโลกที่ตอนนี้ปลาทอง เป็นแชมป์อยู่

พอจำการเขียนตัวอักษรได้แล้ว เราก็มาดูเรื่องเส้นกัน หลายคนมีปัญหากับตรงนี้มาก บางคนถึงกับต้องกินยานอนหลับเพราะกังวลมากเกินไป ไม่ต้องกลัว ตอนสอบมันจะมีคนมาเอาเข้าเครื่องแสกนเหรอว่าเราลากเส้นถูกรึเปล่า จำหลักๆ เอาไว้ 2 ข้อ คือ

1. บนลงล่าง
2. ซ้ายไปขวา

จะคันจิพลิก แพลงเป็นรูปหงส์ร่อนมังกรรำขนาดไหนก็ไม่พ้นหลักการ 2 ข้อ ข้างบนนี้ คือลากมันจากบนลงล่างถ้าเป็นลักษณะเส้นตรง แล้วก็ลากมันปาดจากซ้ายมาขวาถ้ามันเป็นลักษณะของเส้นแนวนอน

คำถามต่อมาที่กระทบหูบ่อยๆ ก็คือ ทำยังไงถึงจะจำคำศัพท์ได้หมด? ไม่ยากครับ สมมติเรา list คำศัพท์ออกมาได้ประมาณนี้

อ่าน รอบแรกทำความเข้าใจกับมันเสียก่อน รอบสองเราค่อยมาดูว่าศัพท์ตัวไหนน่าสนใจ ตัวไหนน่าเอาไปใช้ ตัวไหนน่าออกสอบ มาร์ก หรือไฮไลท์มันเอาไว้ซะ หรือจะเอาไป ซีร๊อกซ์ขยายซักแปดพันเท่าแปะไว้หน้าบ้านก็ได้ พอเรา list ได้แล้ว ก็ทำสูตรเดิมเลยครับ

คัด กันเข้าไป เขียนตัวยุ่นก่อนแล้วค่อยเขียนความหมายก็ได้ แล้วทำสลับๆ กันไปซัก 3 รอบ รับรอง 40-50 % ของคำศัพท์ทั้งหมดมันต้องย้อนกลับมาเข้าหัวบ้าง เทคนิคอีกอย่างของผมก็คือ ถ้าศัพท์ตัวนั้น เป็นกริยา ผมจะเขียนคำช่วยไว้ข้างหน้าด้วยกันลืม แล้วก็เอากฏเกณฑ์ของการใช้ตัวช่วยเนี่ยแหละ ไปช่วยแยกการจำคำศัพท์ให้เป็นชุดๆ เช่นตัวนี้ใช้ ni ตัวนั้นใช้ de นะ ถ้าเขียนซัก 8หมื่นรอบ แล้วยังจำไม่ได้แนะนำให้เอาไปให้พระเกจิอาจารย์ดังๆ ลงคาถาทำเป็นยันต์แล้วสอดไว้ใต้หมอนก่อนนอนทุกคืน เผื่อมันจะออสโมซิสใส่สมองเข้าไปบ้าง แต่ไม่แนะนำให้คนที่จำได้แล้วทำนะครับ เดี๋ยวมันรีเวิร์สออสโมซิส ไหลย้อนกลับกระดาษหมด

ต่อไปก็เป็นปัญหาไวยกรณ์ อันนี้เป็นกันทุกคนครับ เพราะภาษายุ่นปี่มันกวน มันชอบผันตัวเองไปเรื่อยๆ ถ้าท่านเป็นกองกลางจอมเทคนิค บางทีท่านอาจจะผันได้ถึง 20 รูปแบบใน verb ตัวเดียว เอาล่ะครับ ผมมีอะไรให้จำกันง่ายๆ 2 ข้อ จริงๆ มี 745 ข้อ แต่จะบอกแค่ 2 ข้อมีอะไรมะ?

1.ภาษาญี่ปุ่นให้ตายยังไงมันก็ต้องจบด้วย desu
2.ถ้ามันไม่จบด้วย desu มันก็ต้องจบด้วย masu

ตรงนี้มีคนเถียง “ทำไมผมเห็นหลายๆ ประโยคมันจบด้วย te, da, ne, yo, datta, da, chau, deshou, dearu, darou doremon ล่ะครับ???”

ตอบ แบบคนโง่ๆ อย่างผมก็คือ นั่นแหละที่ผมเรียกว่าการผันตัวของไวยกรณ์ญี่ปุ่น desu มันก็กลายเป็น da เป็น dearu ได้ masu มันก็เป็น iru ในกรณี teimasu อะไรพวกนี้ได้ ซึ่งยังไม่อยากพูดไว้มีอารมณ์ก่อนแล้วค่อยมาว่ากันอีกที อันนี้มันลึกเกินระดับ 4 แล้ว ตั้งใจจะมาคุยเพื่อระดับ 4 โดยเฉพาะนะวันนี้ เลยไม่อยากลงไปลึกมากเดี๋ยวจมน้ำ

เขียน สรุปลง death note ก็เป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องแบกตำราเรียนไปให้เมื่อย แถมเวลาอ่านนอกสถานที่ก็สบายด้วยเป็น sheet ไม่กี่แผ่น หรือสมุดกิ๊กๆ ลายห่านป่าเนบราสก้า ก็ดูเก๋ไปไม่หยอก หรือจะจดใส่โน๊คบุ๊คแบกอ่านเล่นบนรถเมล์ ก็ล่อสายตาสาวๆ ไม่ใช่เล่น ข้อสำคัญคือ จดโดยลายมือเรา เวลาเพื่อนยืมไปซีรอกซ์แม่งโคตรเท่ห์ คิดดู ทั้งคลาสมันอ่านสรุปของเราทุกคน

ไอ้ ที่ท่านเห็นข้างบนนี้มันคือ shousetsu หรือเรื่องสั้น หายืมไปซีรอกซ์ได้ตามเพื่อน, อาจารย์,หรือสำนักหอสมุดทั่วไป หรือบางทีฟลุ๊คๆ ก็อาจจะมีแม่ค้ากล้วยทอดลูกครึ่งบางคนเอามาทำกระดาษห่อให้เราอ่านฟรีๆ ลองหัดอ่านซะ ไม่เข้าใจก็ถามคนที่ยืมมานั่นแหละ ยกเว้นบรรณารักษ์ห้องสมุดนะ มันเป็นการพัฒนาทักษะการเอาตัวรอด เพราะการอ่านเรื่องสั้นจะประกอบไปทั้งการฝึกฝนทั้ง คันจิ ไวยกรณ์ และคำศัพท์

มี เงินแล้วอย่างกครับ คราวน์ แองเจิ้ลวิง ชุดปังย่าอะไรนั่นยังเก็บเงินซื้อกันได้ ดิกชันนารี่ไม่กี่เล่มก็ต้องซื้อได้เหมือนกัน ซื้อไปเลยทั้งดิคเฉพาะทาง ดิครวมศัพท์ ดิค furikana ไทยเป็นยุ่น ยุ่นเป็นไทย ไทยญี่ปุ่นดินแดน หรือจะยุ่นเป็น eng ก็เอาตามสะดวก

ผมแนะนำให้ใช้ dic แบบดิจิตัลเลดี้น่ะนะ มันสะดวกดี แพง(ฉิบ) แต่ถูกกว่าค่าเสื้อผ้าไฮโซบางคน 1 ชุดรวมกัน

ไฮโซ มั้ย… ไฮโซวววว

ใช้งานง่ายมั้ยล่ะ หาคันจิแป๊บเดียวเจอ แต่บางทีก็หาเป็นนาทีๆ เหมือนกันนะ…

“ไม่มีเงินทำไงดีค่ะ?”

แก้ขัดไปก่อนครับพี่น้อง….

http://babelfish.altavista.com/tr

โปรแกรมนี้ก็ได้ครับ ดีกว่าไอ้เจ้า NJstar อะไรนั่นอีก ชื่อ JWPce จะหาจากไหนน่ะเหรอ รู้จัก google มั้ยล่ะ เออนั่นแหละ

เอาล่ะ เดี๋ยวคราวหน้าเราจะมาว่ากันด้วยศาสตร์ของการแปลเพลง แปลยังไงให้เสี่ยวแบบ ท่าน Rising-Top กร้ากกกก จะมีคนอ่านมั้ยวะ !!!

Read Full Post »